วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

คำขวัญประจำจังหวัดปทุมธานี

คำขวัญจังหวัดปทุมธานี

ถิ่นบัวหลวง  เมืองรวงข้าว  เชื้อชาวมอญ  นครธรรมะ  พระตำหนักรวมใจ

สดใสเจ้าพระยา  ก้าวหน้าอุตสาหกรรม

ประเพณีในจังหวัดปทุมธานี

 ประเพณีในจังหวัดปทุมธานี

การตักบาตรพระร้อย เป็นประเพณีของชาวมอญที่ทำในเทศกาลออกพรรษา ด้วยการนำอาหารคาว หวาน ลงเรือมาจอดเรียงรายริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อรอตักบาตร เป็นประเพณีของชาวมอญที่ทำในเทศกาลออกพรรษา ด้วยการนำอาหารคาว หวาน ลงเรือมาจอดเรียงรายริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อรอตักบาตร เป็นประเพณีของชาวมอญที่ทำในเทศกาลออกพรรษา ด้วยการนำอาหารคาว หวาน ลงเรือมาจอดเรียงรายริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อรอตักบาตร

การรำพาข้าวสาร เป็นประเพณีของชาวมอญ นิยมทำกันหลังเทศกาลออกพรรษา เป็นช่วงการทอดกฐินและทอดผ้าป่า โดยคณะผู้รำพาข้าวสารจะพายเรือไปขอรับบริจาคข้าวสาร เงินทอง และสิ่งของ แล้วนำไปร่วมในการทอดกฐิน เป็นประเพณีของชาวมอญ นิยมทำกันหลังเทศกาลออกพรรษา เป็นช่วงการทอดกฐินและทอดผ้าป่า โดยคณะผู้รำพาข้าวสารจะพายเรือไปขอรับบริจาคข้าวสาร เงินทอง และสิ่งของ แล้วนำไปร่วมในการทอดกฐิน เป็นประเพณีของชาวมอญ นิยมทำกันหลังเทศกาลออกพรรษา เป็นช่วงการทอดกฐินและทอดผ้าป่า โดยคณะผู้รำพาข้าวสารจะพายเรือไปขอรับบริจาคข้าวสาร เงินทอง และสิ่งของ แล้วนำไปร่วมในการทอดกฐิน
                                                                                         
  การแข่งลูกหนู การแข่งขันลูกหนูจะมีในประเพณีงานเผาศพพระภิกษุ ลูกหนูทำด้วยไม้กลึงเป็นท่อนภายในกลวงบรรจุดินปืน ต่อด้วยเชือกฉนวน เมื่อจุดไฟ ไฟจะวิ่งตามฉนวนไปยังลูกหนู ลูกหนูก็จะวิ่งไปตามสายลวดสลิงสู่เมรุจำลอง ซึ่งแข่งขันกันที่โล่งแจ้ง การแข่งขันลูกหนูจะมีในประเพณีงานเผาศพพระภิกษุ ลูกหนูทำด้วยไม้กลึงเป็นท่อนภายในกลวงบรรจุดินปืน ต่อด้วยเชือกฉนวน เมื่อจุดไฟ ไฟจะวิ่งตามฉนวนไปยังลูกหนู ลูกหนูก็จะวิ่งไปตามสายลวดสลิงสู่เมรุจำลอง ซึ่งแข่งขันกันที่โล่งแจ้ง การแข่งขันลูกหนูจะมีในประเพณีงานเผาศพพระภิกษุ ลูกหนูทำด้วยไม้กลึงเป็นท่อนภายในกลวงบรรจุดินปืน ต่อด้วยเชือกฉนวน เมื่อจุดไฟ ไฟจะวิ่งตามฉนวนไปยังลูกหนู ลูกหนูก็จะวิ่งไปตามสายลวดสลิงสู่เมรุจำลอง ซึ่งแข่งขันกันที่โล่งแจ้ง


อาหารที่สำคัญของจังหวัดปทุมธานี

ข้าวแช่

ข้าวแช่ เป็นอาหารคาวที่นิยมรับประทานกันในคนไทยหมู่มากตั้งแต่สมัยโบราณในช่วงฤดูร้อน โดยการนำข้าวสุกไปแช่กับน้ำเย็นที่ลอยด้วยดอกไม้กลิ่นหอม ซึ่งทานกับเครื่องเคียงหลากหลายชนิด คือ ลูกกะปิทอด ผักผัดหวาน พริกหยวกสอดไส้ เนื้อเค็มฝอยผัดหวาน หัวหอมสอดไส้ ผักกาดเค็มผัดหวาน ปลาแห้งผัดหวาน เป็นต้น
ในสมัยโบราณ ข้าวแช่เป็นส่วนประกอบในเทศกาลสงกรานต์ของมอญ โดยประเพณีโบราณกล่าวไว้ว่า ในวันสงกรานต์จะต้องทำข้าวแช่ถวายพระสงฆ์ เพราะถือเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่ถวาย ต่อมาข้าวแช่ได้เข้ามาในประเทศไทยโดยเริ่มจากภายในพระราชวัง โดยข้าราชบริพารได้นำข้าวแช่มาถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) และเป็นที่โปรดปรานของพระองค์จึงนิยมรับประทานกันเฉพาะในบริเวณวังเท่านั้น ต่อมาหลังการเสด็จสวรรคตข้าวแช่จึงได้ถูกเผยแพร่สู่ประชาชนทั่วไป โดยประชาชนเรียกว่า "ข้าวแช่ชาววัง" เพราะได้รับการเผยแพร่มาจากในวัง

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานี

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานี


วัดสิงห ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ ต. สามโคก อ. สามโคก ภายในบริเวณวัดเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปองค์สำคัญ คือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสมัยอยุธยา มีพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุศิลปมอญ นอกจากนี้ ชาวบ้านรอบ ๆ วัด ยังคงมีการทำอิฐมอญแบบเก่าเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัวให้เห็นอยู่ทั่วไปอีกด้วย

วัดเจดีย์ทอง ตั้งอยู่ที่ ต. คลองควาย อ. สามโคก ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ภายในวัดมีเจดีย์ทรงรามัญ อายุประมาณ 160 ปี ภายในอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป ซึ่งสร้างด้วยหยกขาว ปางมารวิชัย เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป

วัดบางหลวง ตั้งอยู่ที่ ต. บางหลวง อ. เมือง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 3 กิโลเมตร วัดมีสิ่งที่สำคัญ คือ พระอุโบสถทรงไทยโบราณ ภายในมีพระประธานปางมารวิชัยและภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพพุทธประวัติ นอกจากนี้ ยังมีเจดีย์มอญ 2 องค์ คือทรงชเวดากอง และมูเตา ซึ่งวัดนี้ใช้ประกอบศาสนพิธีของชาวบ้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน

วัดเจดีย์หอย ตั้งอยู่ที่ ต.บ่อเงิน อ.ลาดหลุมแก้ว มีการค้นพบซากเปลือกหอยนางรมยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ จมอยู่ในดินเป็นเวลาหลายร้อยปี เป็นเปลือกหอยนางรมขนาดใหญ่จำนวนมหาศาลมีเป็น แห่งแรกในประเทศไทย ทางวัดได้นำมาจัดทำเป็นรูปเจดีย์หอยจำลองแบบมาจากประเทศพม่า เป็นที่สนใจของประชาชน นักธรณีวิทยา นักประวัติศาสตร์และชาวต่างประเทศเป็นจำนวนมาก

วัดหงส์ปทุมาวาส (วัดมอญ) ตั้งอยู่ที่ ต.บางปรอก อ.เมือง วัดมีเจดีย์ทรงรามัญ จำลองแบบมาจากเจดีย์จิตตะกอง วิหารจำลองได้แบบมาจากกรุงหงสาวดี หลังคาเป็นชั้น ๆ มีลวดลายที่สวยงามมาก อุโบสถเป็นอุโบสถสร้างใหม่ตามสถาปัตยกรรมของไทย มองเห็นช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ได้แต่ไกล ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวพุทธประวัติ และยังมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนมาก

พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ  ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองหนึ่ง ประกอบด้วย กลุ่มอาคารพิพิธภัณฑ์ 9 อาคาร มีทางเดินเชื่อมต่อกัน จัดแสดงเรื่องราวทางการเกษตรผ่านเทคโนโลยีทันสมัย และหุ่นจำลอง ครอบคลุมเนื้อหางานการเกษตรทุกด้าน ได้แก่ การพัฒนาที่ดิน ป่าไม้ ประมง ปศุสัตว์ ระบบนิเวศ ส่วนด้านนอกมีเรือนเพาะปลูก แปลงนาสาธิต และจำลองสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรทุกภูมิภาคของไทย นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ประชุมสัมมนาด้านวิชาการเกษตร


 


วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดปทุมธานี

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดปทุมธานี


          จังหวัดปทุมธานี เดิมเป็นถิ่นฐานบ้านเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่า 300 ปี นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา คือเมื่อพุทธศักราช 2202 มังนันทมิตรได้กวาดต้อนครอบครัวมอญ เมืองเมาะตะมะ อพยพหนีภัยจากศึกพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ครอบครัวมอญเหล่านั้นไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก จากนั้นมาชุมชนสามโคกได้พัฒนาขึ้นมาตามลำดับ ต่อมาแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ชาวมอญได้อพยพหนีพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกเป็นครั้งที่ 2 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่สามโคก และครั้งสุดท้ายในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีการอพยพชาวมอญครั้งใหญ่จากเมืองเมาะตะมะ เข้าสู่ประเทศไทยเรียกว่า " มอญใหญ่" พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญบางส่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคกอีกเช่นเดียวกัน ฉะนั้นจากชุมชนที่ขนาดเล็ก "บ้านสามโคก" จึงกลายเป็น "เมืองสามโคก" ในกาลต่อมา
          พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเอาพระทัยใส่ดูแล ทำนุบำรุงชาวมอญเมืองสามโคกไม่ได้ขาด ครั้งเมื่อเดือน 11 พุทธศักราช 2358 ได้เสด็จประพาสที่เมืองสามโคก และประทับที่พลับพลาริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งซ้ายเยื้องเมืองสามโคก ยังความปลาบปลื้มใจให้แก่ชาวมอญเป็นล้นพ้น จึงได้พากันหลั่งไหลนำดอกบัวขึ้นทูลเกล้าฯถวายราชสักการะอยู่เป็นเนืองนิจ ยังความซาบซึ้งในพระราชหฤทัยเป็นที่ยิ่ง จึงบันดาลพระราชหฤทัยให้พระราชทานนามเมืองสามโคกเสียใหม่ว่า "เมืองประทุมธานี" ซึ่งวันนั้นตรงกับวันที่ 23 สิงหาคม พุทธศักราช 2538 ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ชื่อเมืองประทุมธานีจึงได้กำเนิดนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
          ในปีพุทธศักราช 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าให้ใช้คำว่า "จังหวัด" แทน"เมือง" และให้เปลี่ยนการเขียนชื่อจังหวัดใหม่จาก "ประทุมธานี" เป็น "ปทุมธานี" ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้ยุบจังหวัดธัญบุรีขึ้นกับจังหวัดปทุมธานีเมื่อ พุทธศักราช 2475
          นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชทานนาม เมืองปทุมธานีเป็นต้นมา จังหวัดปทุมธานีก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ เป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์มีศิลปวัฒนธรรม และเอกลักษณ์อื่นๆเป็นของตัวเองซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวปทุมธานีภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง และเป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ตัวเมืองปทุมธานีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯไปทางทิศเหนือประมาณ 46 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 1,565 ตารางกิโลเมตร เเบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองปทุมธานี สามโคก ลาดหลุมเเก้ว ธัญบุรี หนองเสือ คลองหลวง และลำลูกกา

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิชา คอมพิวเตอร์ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2


ความหมายของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็น เครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ

           พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต                                                                                                     
             อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่าย ที่พัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูงในสังกัดกระทรวงกลาโหมในประเทศอเมริกา  เพื่อสนับสนุนงานวิจัยทางด้านทหาร การพัฒนาอาร์พาเน็ตได้ดำเนินการมาเป็นลำดับและได้มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ถึงกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2513 โดยใช้มินิคอมพิวเตอร์รุ่น 316 ของฮันนีเวลล์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (host)  และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการต่างกันและอยู่ในสถานที่ 4 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส   สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด  มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด  มหาวิทยาลัยยูทาห์ อาร์พาเน็ตเป็นเครื่อข่ายที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำให้มีหน่วยงานอีกหลายแห่งเชื่อมต่อเพิ่มขึ้น 
            สำหรับประเทศไทย เริ่มเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต่อเชื่อมโยงเพื่อส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กับ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทำให้ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตเป็นครั้งแรก และในระยะเวลาเดียวกันนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอกนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้มีโครงการที่จะ เชื่อมโยงเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้น เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยก็ค่อย ๆ พัฒนาขึ้น